วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาษาแอสแซมบลี (#Assembly Language)


     จากบทความก่อนได้นำเสนอเรื่องภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน(Machine Language)  เป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจคำสั่งได้ ภาษาเครื่องจะแทนข้อมูลหรือคำสั่งในโปรแกรมด้วยกลุ่มของตัวเลข 0 และ 1 หรือที่เรียกว่าเลขฐานสอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ 

 ในบทความนี้จะกล่าวถึง #ภาษาแอสแซมบลี (#Assembly Language)

       เป็นภาษาที่มีการใช้สัญลักษณ์ข้อความ (Mnemonic codes) แทนกลุ่มของเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์รู้จักเฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นภาษาแอสแซมบลี จึงต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า “แอสแซมเบลอร์ (#Assembler)” เพื่อแปลคำสั่งภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง นอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี ได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีเนื่องจากต้องยุ่งเกี่ยวกับการใช้งานหน่วยความจำที่เป็นรีจิสเตอร์ภายในตลอด ดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง ถึงแม้ว่าภาษานี้จะง่ายกว่าการเขียนภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาชั้นต่ำที่ยังยากต่อการเขียนและการเรียนรู้มากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านฮาร์ดแวร์นัก

จากในรูป เป็นCode เบื่องหลังของเกม ที่บางท่านอาจจะเคยเล่นกันมาบ้าง   



ถ้าท่านใดอยากศึกษาเพิ่มเติ่มต่อได้ที่ http://www.thaiall.com/assembly/ 

#ความรู้ 
#วิชาการ
#ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language)


      หลายท่านอาจจะเคยสงสัย ว่า Computer ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เบื้องหลังของโปรแกรมต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างไร ?  

 Computer ใช้ภาษาอะไรถึงสามารถทำประโยชน์ให้กับเรามากมาย เบื้องหลังของมันมีที่มาอย่างไร....
 Computer นั้นมีภาษาของตนเอง เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) คือภาษาที่ใช้ หรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
      ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป
 ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง(Machine Language)  เป็นภาษาที่เกิดขึ้นในยุคแรกสุด และเป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจคำสั่งได้ ภาษาเครื่องจะแทนข้อมูลหรือคำสั่งในโปรแกรมด้วยกลุ่มของตัวเลข 0 และ 1 หรือที่เรียกว่าเลขฐานสอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้  จะมีภาษาอะไรบ้างติดตามได้ในบทความหน้าครับ

‎#HasTagคืออะไร?

วันนี้ มีเครื่องมือทำมาหากินที่อยู่ใน Facebook & Othet Socia media

เจ้าเครื่องมือที่พูดถึงนี้เรียกว่า ‎#HasTag(#)

‎#HasTagคืออะไร

hastag เรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือทางลัดในการเข้าถึงบทความต่างๆที่เขียน สัญลักษณ์( # ) +ตามด้วยkeywordสั้นๆที่จะใช้บอกตัวตนและข้อมูลที่เกียวข้องกับเนื้อหาที่โพส




อย่างเช่นในภาพที่เห็น เมื่อกดเข้าไปดู hastag ที่ชื่อว่า‎#GoogleReader ก็จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมา
ในหน้านี้User จะเห็นโพสต่างๆ ที่ใช้ tag เดียวกันหรือมีคำเดียวกันทั้งหมด ในรูปก็จะเห็นโพสต่างๆ
ต่อท้ายด้วย #GoogleReader ทุกโพสจะเชื่อมถึงกันไม่จำเป็นว่าจะต้องAdd Friend กันก่อน
แต่ถ้าเราอยากค้นหาเรื่องที่เราต้องการ เช่นคำว่า ข่าวสด ก็ใส่ ‎#ข่าวสดในช่องSearch ของfacebook ท่านจะเจอเรื่องที่ท่านต้องการแล้วครับแถมupdateล่าสุดด้วย
แต่ทุกวันนี้เราจะเห็นว่า คนไทย(บางส่วน)ที่ใช้ภาษาไทย update Status ของตน จะใช้ สัญลักษณ์( # ) มั่วไปหมด ปิดหัวปิดท้ายคำพูดที่บ่นออกมา
อันนี้ก็ความเห็นสวนตัวไปห้ามอะไรไม่ได้เพราะเราอยู่ในโลกเสรี ที่พิมพ์มาก็อยากให้เพื่อนๆลองใช้ให้เกิดประโยชน์ ภายในอนาคตข้างหน้าเราอาจจะเห็นประโยชน์ของมันก็ได้ครับ

ปล.ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพราะอยากให้ใช้กันให้ถูกต้อง ไม่ให้ใครมาดูถูกคนไทยได้นะครับ
ผิดพลาดประการได้ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ยาวไปหน่อยขออภัย

‎#วิธีใช้Hastag